ฝ่ายจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง
ฝ่ายจำแนกผู้ต้องขังมีหน้าที่ จำแนกผู้ต้องขัง จัดกลุ่ม แยกคุมขัง แก้ไข บำบัด ฟื้นฟู โดยให้คำนึงถึงโทษและพฤติการณ์ ในการกระทำความผิด ลักษณะความผิด ความรุนแรงของคดี การกระทำความผิดที่ได้กระทำมาก่อนแล้วและความประพฤติและวินัยในระหว่างคุมขัง ตลอดจนระยะเวลากำหนดโทษคุมขังที่เหลืออยู่ ของผู้ต้องขังดังกล่าว การคัดเลือกผู้ต้องขัง จ่ายออกทำงาน นอกเรือนจำการคัดเลือกผู้ต้องขังไปอยู่ประจำเรือนจำชั่วคราวลาดสามร้อยและงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
ข่าวประชาสัมพันธ์ฝ่ายจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง
วันที่ 12 ธันวาคม 2566 ฝ่ายจำแนกลักษณะผู้ต้องขังดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับนักโทยเด็ดขาดที่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา ๓ ซึ่งต้องดำเนินการตามมาตรา ๒๓ ท.ศ.๒๕๖๖ (รอบเดือน กุมภาพันธ์ ถึง พฤศจิกายน ๒๕๖๘) นักโทษเด็ดขาดจำนวน ๕ รายโดยมีคณะทำงานจากหน่วยงานภายนอกเป็นเกียรติเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
วันที่ 28 กันยายน 2566 ฝ่ายจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ดำเนินการจัดทำแบบการศึกษาประวัติผู้ต้องขังเฉพาะกรณี (Case Study) เป็นที่เข้าข่ายเป็นผู้ต้องขัง Watch List
คดีอาชญากรรมสะเทือนขวัญ เป็นที่สนใจของสังคม (Brand Name) จำนวน 2 ราย คดี ร่วมกันชิงทรัพย์ ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
วันที่ 3 ตุลาคม 2566 ฝ่ายจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับนักโทษเด็ดขาดที่เข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา ๓ ซึ่งต้องดำเนินการตามมาตรา ๒๓ พ.ศ.๒๕๖๕(รอบเดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๗ – กันยายน ๒๕๖๘) นักโทษเด็ดขาดจำนวน ๔ ราย โดยมีผู้แทนโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ผู้แทนสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้แทนสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้แทนตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี เข้าร่วมประชุม
วันที่ 26 มิถุนายน 2566 ฝ่ายจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ดำเนินการจัดทำแบบการศึกษาประวัติผู้ต้องขังเฉพาะกรณี (Case Study) เป็นที่เข้าข่ายเป็นผู้ต้องขัง Watch List คดีอาชญากรรมสะเทือนขวัญเป็นที่สนใจของสังคม (Brand Name) ข.ช.ภานุพงศ์ ฯ คดี พรบ.ยาเสพติดฯ (คีตามีน 96 กิโลกรัม) จำหน่ายเพื่อการค้า
วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ฝ่ายจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ดำเนินการประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังและการจัดแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล (Sentence Planing) ครั้งที่ ๘/๒๕๖๖ (จำนวนผู้ต้องขัง ๑๕๑ คน ชาย = ๑๑๖ คน หญิง = ๓๕ คน) โดยมีผู้แทนสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเกียรติเข้าร่วมประชุม
วันที่ 27 เมษายน 2566 ฝ่ายจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับนักโทษเด็ดขาดที่เข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา ๓ ซึ่งต้องดำเนินการตามมาตรา ๒๓ พ.ศ.๒๕๖๕ ครั้งที่ ๓ (รอบเดือน พฤษภาคม ๒๕๖๖ – ธันวาคม ๒๕๖๙) นักโทษเด็ดขาดจำนวน ๘ รายโดยมี นางสาวศิริวยา อ่อนสระ ผู้แทนปกครองจังหวัดสุพรรณบุรี นายวิรัตน์ ศรีชมภู ผู้แทนสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสุพรรณบุรี พันตำรวจเอกยิ่งยส เขินอำนวย ผู้แทนตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี
นางสาวสาธิมน ศิริสมบูรณ์เวช ผู้แทนสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี เข้าร่วมประชุม
วันที่ 28 มีนาคม 2566 ฝ่ายจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ดำเนินการจัดทำแบบการศึกษาประวัติผู้ต้องขังเฉพาะกรณี (Case Study) เป็นที่เข้าข่ายเป็นผู้ต้องขัง Watch List คดีอาชญากรรมสะเทือนขวัญเป็นที่สนใจของสังคม (Brand Name) ข.ช.ศุภชัย ฯ คดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา พยายามฆ่าผู้อื่น,พรบ.อาวุธปืน
วันที่ 14 มีนาคม 2566 ฝ่ายจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ดำเนินการอ่านคำพิพากษาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ การฝากขังผ่านจอภาพระบบ Google Meet , Video Conference
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ฝ่ายจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ดำเนินการประชุมคณะกรรมการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง เพ่ื่อจำแนกลักษณะผู้ต้องขังและการจัดแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล ครั้งที่ 5/2566
วันที่ 26 มกราคม 2566 ฝ่ายจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ดำเนินการประชุมคณะกรรมการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง เพ่ื่อจำแนกลักษณะของนักโทษเด็ดขาดที่เข้าข่ายกระทำผิดตามมาตรา 3 ซึ่งต้องดำเนินการตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565
วันที่ 26 มกราคม 2566 ฝ่ายจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ดำเนินการประชุมคณะกรรมการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง เพ่ื่อจำแนกลักษณะผู้ต้องขังและการจัดแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล ครั้งที่ 4/2566